ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรัประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477
พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
พระพุทธสิหิงค์ พระปฏิมาแบบสุโขทัย – ล้านนา อายุราวพุทธศตววรษที่ 21นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงโบราณของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสถิตเป็นมงคลแก่พระนครประจำ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ติประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคลแก่บ้านเทือง
พระหายโศก พระปฏิมาศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่าส่งมากรุงเทพฯ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี
พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 แสดงปางสมาธินาคปรก ทรงเครื่อง มีผอบบรรจุพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นับถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ผู้ช่วยสัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์อันเกิดจากโรคทางกายและโรคทางใจตลอดจนช่วยให้มีชีวิตยืนยาว เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมีโดยอธิฐานความปราศจากโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ เชื่อกันว่าผู้ปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ สามารถหายจากอาการเจ็บป่วยทางกายและใจ ด้วยการบูชาออพระนาม และสัมผัสรูปพระปฏิมา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในอโรคยาศาล เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
พระชัยเมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 -20 เดิมพระชัยสร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม เพื่อความมีชัยชนะต่ออริราชศัตรู ต่อมาอัญเชิญไปในการพิธีด้วย เรียกว่าพระชัยพิธี เพื่อให้การพิธีสัมฤทธิ์ผล ปราศจากการเบียดเบียนบีฑาจากสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลต่างๆ พระชัยเมืองนครราชสีมา แสดงปางมารวิชัย คือครั้งพระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือพระยารามาธิราช พระองค์เบื้องหน้า เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) พระนลาฏ (หน้าผาก) พระศอ (คอ) พระอังศา (ไหล่) และพระกรทั้งสอง จารึกอักขระขอม ภาษาบาลี อายุอักษรราวพุทธศตวรรษที่ 21 -22 เป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆ เช่น หัวใจพระคาถาพระเจ้าห้าองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) หมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย
พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 22 – 23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี โดยทรงบันดาลพระเวฬุวันวิหารประดุจเมืองสวรรค์ และเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช แสดงบุญญานุภาพเหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพและทรงแสดงธรรมจนกระทั้งพระยามหาชมพูสิ้นมานะ ขอบวชเป็นสาวกในพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึงอำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปรูปฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนับถือเป็นหน่อพุทธางกูร
พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์แดงทั้งคู่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามตำนานพระแก่นจันทร์ มีเนื้อความว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทร์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธรูปจากไม้จันทร์หอม พระไม้จันทร์แดงทั้งคู่นี้แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง
พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20เป็นพระพุทธรูปมงคล ด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จารึกฐานพระพุทธรูป ระบุว่า พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 เดิมคนร้ายขุดพบในเจดีย์โบราณที่วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค จังหวัดพะเยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้พร้อมของกลางที่จังหวัดลำปาง ต่อมาหลวงอดุลยธารปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร พระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม
พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณี แก้วสีเขียวอ่อนน้ำแตงกวา พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง ทรงเครื่องทองและอัญมณี เดิมพบแตกเป็น 2 ส่วน เจ้าของเดิมได้มาคนละคราว นำมาต่อเป็นเนื้อเดียวกันได้เป็นอัศจรรย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
สมัยทวารวดี
- พระพิมพ์ปางสมาธิ ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-16 กระทรวงมหาดไทยมอบให้
- เศียรพระพุทธรูป ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-13 จากวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
- พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สำริด ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-16 ขุดพบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
- กวางหมอบ ศิลา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 นายประเสริฐ กล่องสมุทร มอบให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2495
- ลูกปัด หิน แก้ว ดินเผา และกระดูกสัตว์ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 อู่ทองและดอนระฆัง จังหวัดสุพรรณบุรี
สมัยศรีวิชัย
- พระพุทธรูปปางประทานอภัย สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 15-16 กรมศิลปากรซื้อจากหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2479
- ห่วงรูปสิงห์นั่ง สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-16 ไม่ปรากฎที่มา
- นางดาราสี่กร ศิลา ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-15 ไม่ปรากฎที่มา
สมัยลพบุรี
ภาชนะสำริด สำหรับใช้ในการประกอบกิจพิธี
1. พานกลีบบัว
2. คนโท
3. หม้อน้ำ
4. กระบวย
5. ซุ้มเรือนแก้ว
6. ยอดซุ้มเรือนแก้ว
7. พานหรือเครื่องตั้งสามขา
8. เชิงเทียน
9. กระดิ่ง ยอดด้ามจับเป็นวัชระ
10. วัชระ
11. กลอง 2 หน้า หรือบันเทาะว์ ยอดวัชระ
สิ่งก่อสร้างและเครื่องประดับ
1. ลูกรอก สำหรับยกสิ่งของ,มีแกนหมุน
2. ลูกกระพรวนและกระดิง
3. ฉาบ
4. กำไล
โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ในสมัยอื่นๆ
1. เครื่องทองพุทธบูชา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 24 วัดพระแก้ววังหน้า
2. เครื่องทองจากกรุพระปางค์ วัดราชบูรณะ สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20
3. พระที่นั่งพุดตานวังหน้า
4. พระที่นั่งราเชนทรยาน
5. เตียงเท้าสิงห์
6. ตุ๊กตาผู้หญิง ดินเผา ศิลปะจีน สมัยราชวงศ์ฮั่น
7. เครื่องถ้วยจีน
8. เครื่องถ้วยลายน้ำทอง พุทธศตวรรษที่ 23-24
9. โถฝาและชามเคลือบสีเขียนนวล ศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง พ.ศ.1503-1722 พบที่เมืองถั่นหัว ประเทศเวียดนาม ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ มอบให้
10. โทน ตัวเป็นเครื่องปั่นดินเผาเคลือบลายเขียนสีลงยา แบบเฝ็นไฉ่ พุทธศตวรรษที่ 24
สิ่งอื่นที่มีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วงมโหรีเครื่องใหญ่
1. ซอสามสาย 9. ฆ้องวงเล็ก
2. ซออู้ 10. ขลุ่ยเพียงออ
3. ซอด้วง 11. ขลุ่ยหลิบ
4. จะเข้ 12. ฉาบ
5. ระนาดเอก 13. ฉิ่ง
6. ระนาดทุ้ม 14. กรับพวง
7. ระนาดทอง 15. โทน
8. ฆ้องมโหรี 16. รำมานา
หุ่นละครเล็ก
หนังตะลุง
หัวโขน