หลักการจัดรายการวิทยุ
การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดีนั้น คือ การมีความรับผิดชอบต่อสังคมและหากต้องการเป็นนักจัดรายการที่ดี ก่อนที่จะกระจายเสียงของท่านออกไปทุกครั้ง ต้องยิ้มกับไมโครโฟนเสียก่อน
วิทยุกระจายเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการสื่อสาร
1. การให้ข่าวสาร
2. การทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคม
3. การทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์
4. การให้การศึกษา
5. การให้ความบันเทิง
การจัดรายการวิทยุกระจายเสียงนั้น นับว่าเป็นกิจกรรมที่มีความละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยทักษะของแต่ละคนเป็นเรื่องแรกนั้นคือองค์แห่งความรู้และผู้จัดรายการที่ดีต้องเป็นผู้มีศิลปะอยู่ในตัวเองด้วย การจัดรายการวิทยุต้องทำงานด้วยหลัก 6 T และ 3 H คือ
หลักการจัดรายการวิทยุ 6 T 3 H
6 T
-TOPIC ที่ชัดเจน แจ่มแจ้ง
-TARGET รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
-TEAM มีทีมงานที่ดี
-TACTIC มีกลยุทธ์ในการดึงดูดใจต่อกลุ่มเป้าหมาย
-TIME รู้จักเวลา กาลเทศะ
-TECHNOLOGY ต้องเสาะแสวงหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ
3 H
- HEAD ต้องทำงานด้วยสมอง สติปัญญา รอบคอบรอบรู้
- HAND ต้องทำงานด้วยฝีมือประณีต บรรจง ละเอียด
- HEART การทำงานด้วยใจรัก ใส่ใจ มีน้ำใจ อดทนพยายาม
รูปแบบรายการต่างๆ
1.ข่าว
1.ข่าว
เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเสนอข้อเท็จริงที่ตอบคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่และอย่างไร ตามความเป็นจริงไม่สอดแทรกความคิดเห็น โดยเขียนอยู่ในรูปของบทความที่ออกอากาศได้ มีส่วนหัวข้อข่าว ความนำข่าว และเนื้อหาอย่างสมบูรณ์
2.สปอต
เป็นรายการสั้นๆ ความยาว 30-60 วินาที เสนอเฉพาะข้อความที่สำคัญและเรียบเรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย แต่กินใจ เข้าใจง่าย ชวนจดจำ เสียงที่ใช้ เป็นบทพูดหรือสนทนาก็ได้ มีการใช้เพลงหรือเสียงประกอบร่วมด้วย มักจะใช้สอดแทรกระหว่างรายการ
3.จิงเกิ้ล
เป็นข้อความประชาสัมพันธ์สั้นๆ ที่นำเสนอพร้อมท่วงทำนองเพลง โดยทั่วไปจะมีความยาว 15-60 วินาที ผลิตขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ขององค์กร หรือรายการ บางครั้งนำเอาสโลแกนขององค์กร มาเป็นจิงเกิ้ล
4.บทความ
เป็น รายการที่มีความยาวประมาณ 2-5 นาที หรือไม่เกิน 2หน้ากระดาษ ใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่มุ่งเน้นที่การประชาสัมพันธ์ แต่เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง
5.สารคดี
เป็นรายการที่ให้สาระ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด หลายแง่มุม ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เพลง เสียงประกอบ และอื่นๆเช่น การสัมภาษณ์ การบรรยายนอกสถานที่ ละคร หลักการนำเสนอคือ ความเป็นเหตุเป็นผล ชวนติดตาม มีลำดับเรื่องราว อารมณ์ มักต้องใช้ผู้ผลิตที่ต้องมีความชำนาญ
6.ข้อความสำหรับประกาศ
เป็นข้อความสั้น มีเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ เป็นการบอกกล่าว หรือการประกาศเพื่อทราบ
7.สัมภาษณ์
เป็นการถามตอบ อาจใช้รายการสดหรือเป็นเทปไว้ นำมาผสมกับรายการสดได้ ทั้งนี้ผู้จัดจะต้องเตรียมคำถามและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี การสัมภาษณ์ ทำได้สองลักษณะคือ
เป็นทางการ กับไม่เป็นทางการ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเป็นการคุยเล่นหรือคุยสนุกโดยไม่มีเนื้อหาหรือสาระใดๆ เลย
8.การสนทนาและอภิปราย
มีลักษณะที่ชัดคือมีผู้ร่วมรายการมากกว่า 2 คนขึ้นไป ไม่ควรเกิน3คนเพราะจะทำให้ผู้ฟังสับสนได้ ผู้ดำเนินรายการจะต้อง กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้ร่วมรายการอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
9.รายการละครวิทยุ
เป็นการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของความบันเทิง ที่สอดแทรกการประชาสัมพันธ์ ละครมักจะเป็นการนำเสนอเพื่อความบันเทิงและสอดแทรกสาระเข้าไปได้ รายการละครมักจะใช้การผลิตมาก่อน ออกอากาศ โดยใช้เพลงและเสียงประกอบเข้ามาช่วยเพื่อนำเสนอให้น่าสนใจ กระบวนการเล่าเรื่องในละคร มักจะให้ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวดำเนินเรื่อง
10.โฟนอินโปรแกรม
หรือรายการที่โทรศัพท์เข้ามาคุยกันได้เพื่อถามปัญหาหรือตอบคำถามหรือเล่นเกมส์ โดยทั่วไปมักจะมีการนำเสนอที่วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว
การประชาสัมพันธ์ ในสื่อวิทยุมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นคือ
1.ขั้นการเตรียมการ
2.ขั้นผลิตรายการ
3.ขั้นการออกอากาศหรือนำเสนอ
การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์
เป็นรายการที่มีวัตถุประสงค์ในการเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ต้องการจะเผยแพร่มาจัดทำอยู่ในรูปแบบของข่าววิทยุ หากเป็นข่าวเพื่อแจ้งข่าวหรือเพื่อให้ทราบ มักจะใช้หลักการนำเสนอแบบ 5W1H หากเป็นข่าวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ แก้ไขความเข้าใจผิด สร้างศรัทธา ต้องมีรายละเอียดมากตลอดจนภาษาที่ใช้ก็ต้องมีความละเอียดอ่อนและเน้นถ้อยภาษามาก
การเขียนข่าวตามหลัก 5W1H
1.Who
2.Why
3.What
4.When
5.Where
1.How
หลักการเขียนข่าววิทยุ
โครงสร้างของข่าวมักจะใช้วิธีการเล่าแบบ ปิระมิดหัวกลับ คือใช้ความสำคัญขึ้นก่อนแล้วนำเข้าสู่เนื้อหาย่อย ข่าววิทยุมักจะมีคุณลักษณะดังนี้
1.จำกัดเรื่องเวลา จึงเขียนในลักษณะความนำ และเนื้อข่าวไว้ร่วมกัน ส่วนรายละเอียด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการแจ้งข่าว
2.พาดหัวข่าว ต้องชัด ด้วยประโยคที่พาดหัวข่าววิทยุ จะใช้เป็นความนำของข่าวไปในตัว
3.เสนอสาระของข่าวก่อน แล้วจึงอธิบายรายละเอียด
ข้อควรระวังในการเขียนข่าววิทยุ
1.ไม่ควรเริ่มต้นประโยคด้วยชื่อที่ประชาชนไม่รู้จัก
2.อย่าใช้สรรพนาม บุรุษที่สามแทน เพราะผู้ฟังไม่รู้ว่าเขา หรือเธอคือใคร
3.หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิค หาคำที่ฟังเข้าใจง่ายแทน
4.คำที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด ให้นำเครื่องหมายคำพูด ออกแล้วอธิบายโดยบอกว่าใครพูดแทน
5.หลีกเลี่ยงคำว่า ที่นี่ ที่นั่น ให้ใช้ชื่อสถานที่นั้นเต็มๆ
6.ในกรณีที่ต้องการเน้นคำ ให้ขีดเส้นใต้ ผู้อ่านจะได้รู้และเน้นคำได้อย่างชัดเจนถูกต้อง
7.เมื่อต้องการจะจบเนื้อหาข่าวให้ใช้ # หรือคำว่า จบข่าว
8.เมื่อต้องการให้ผู้อ่านข่าวเว้นจังหวะในการอ่าน ให้ใช้เครื่องหมายเป็นเส้นเฉียง 2เส้น //
9.อย่าใช้คำย่อในการเขียนข่าว เพราะผู้อ่านอาจจะไม่ทราบ ให้เขียนโดยใช้ชื่อเต็ม แต่ถ้าเป็นคำย่อที่ผู้ฟังทราบ ก็สามารถใช้ได้ เช่น ขสมก. กทม.
10.การเขียนตัวเลข ต้องเขียนให้อ่านได้ชัดเจน อาจเขียนเป็นตัวอักษร หรือเป็นคำเต็มเช่น หนึ่งหมื่นล้านบาท ดีกว่า 10,000 ล้านบาท หรือ 10,000,000,000 บาท
การเขียนบทวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า การจัดทำรายการวิทยุมีหลายรูปแบบ การที่จะทำให้รายการได้รับความนิยม หรือน่าสนใจ การเตรีมพร้อมในการผลิตรายการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน คำพูดทุกคำเสียงทุกเสียงที่ใช้จะต้องมีคามหมายและความสำคัญ ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ไม่สับสนและชัดเจนในคำพูดและสื่อสารง่าย
ความสำคัญของการเขียนบทวิทยุ
1.เป็นแนวทางในการดำเนินรายการไม่ให้หลงทาง วกวน หรือผิดพลาด
2.ทำให้เกิดความรอบคอบ สมบูรณ์ในงาน รายการวิทยุเป็นเสียง ดังนั้น ผู้ฟังจะฟังแล้วผ่านเลยไม่มีการหวนกลับมาหรือทบทวนได้อีกครั้ง ดังนั้นการเขียนบทจึงจะต้องชัดเจน ภาษาถูกต้อง มีการ
ขยายความอธิบายเพิ่มเติม ย้ำคำหรือมีการใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลำดับข้อความหรือเหตุการณ์ได้ดี ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ชัดเจน อารมณ์ ความรู้สึกเป็นไปตามที่รายการตั้งจุดมุ่งหมายไว้
3.การผลิตรายการวิทยุ มีการทำงานเป็นทีม ดังนั้นจึงจะต้องมีการสื่อสารกันในทีมงานให้ชัดเจน เข้าใจตรงกัน และป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้
ประเภทของบทวิทยุกระจายเสียง
1.บทประเภทเค้าโครงเรื่อง บทที่แสดงองค์ประกอบหรือลำดับการทำงานให้เป็นที่เข้าใจ เฉพาะทีมงาน มักแสดงเพื่อให้รู้ว่ามีอะไร และจะต้องทำอะไร มีใครร่วมบ้าง
2.บทวิทยุประเภทกึ่งสมบูรณ์ บทที่มีรายละเอียดของเนื้อหา ลำดับขั้นตอนและรูปแบบรายการที่ชัดเจน แต่มีเพียงบางส่วนที่ผู้พูดเว้นไว้เพื่อพูดเอง เช่นรายการสนทนา อภิปราย
3.บทประเภทสมบูรณ์ เป็นบทที่มีครบทุกถ้อยความ มีรายละเอียดของรายการ บอกส่วนประกอบที่ชัดเจน เช่นรายการวิทยุประเภท สปอตวิทยุ บทความ ละคร สารคดี
ขั้นตอนของการเขียนบทวิทยุกระจายเสียง
1.ขั้นเริ่มรายการ เป็นการเปิดรายการจะต้องดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้มากที่สุด เช่นการเริ่มโดยใช้เสียงเร้าความสนใจ ปัญหา และถ้อยคำที่กระตุ้นและชวนให้ติดตาม
2.ขั้นดำเนินรายการด้วยการพัฒนาเนื้อหา การสร้างความน่าสนใจ เป็นการนำเอาเนื้อหามาขยายให้ชัดเจน และชวนให้ติดตาม
3.ขั้นสร้างจุดประทับใจ เป็นการชี้ประเด็นสำคัญ เป็นขั้นที่ต้องสร้างจุดที่ทำให้ผู้ฟังประทับใจ หรือเกิดความรู้สึกตามที่ต้องการ
4.ขั้นสรุป หรือย้ำทบทวน เนื้อหาในสามขั้นตอน โดยเรียบเรียงอย่างมีระบบระเบียบ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนและจดจำได้ง่าย
หลักการเขียนบทวิทยุ
1.ตั้งวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายว่าเขียนเพื่อใคร เพื่ออะไร และเวลาที่กำหนดมาให้
2.กำหนดรูปแบบของรายการ ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมาย
3.กำหนดหัวข้อหรือขอบข่ายของเนื้อหา
4.ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
5.ลงมือเขียน และแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์
6.ผลิตรายการ
7.ประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น