จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

         
ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรัประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเแลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว  ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึง โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่ นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"        
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระ ราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477

พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน


    พระพุทธสิหิงค์  พระปฏิมาแบบสุโขทัย ล้านนา อายุราวพุทธศตววรษที่ 21นับถือเป็นพระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงโบราณของไทยทุกแห่ง นับแต่กรุงสุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสถิตเป็นมงคลแก่พระนครประจำ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานครได้อัญเชิญออกให้ติประชาชนถวายน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี นับเป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์และสวัสดิมงคลแก่บ้านเทือง


   พระหายโศก  พระปฏิมาศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปของหลวงพระราชทาน มีนามเป็นมงคลพิเศษ จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่าส่งมากรุงเทพฯ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2399 เดิมคงใช้ในพระราชพิธีหลวง จนกระทั่งกรมพระราชพิธี ส่งมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานเมื่อ พ.ศ.2474 เชื่อกันเป็นพระพุทธรูปอำนวยความสุข สวัสดี


   พระไภษัชยคุรุ  ศิลปะลพบุรี  พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 แสดงปางสมาธินาคปรก ทรงเครื่อง มีผอบบรรจุพระโอสถอยู่ในพระหัตถ์ เป็นพระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นับถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าแพทย์ผู้ช่วยสัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์อันเกิดจากโรคทางกายและโรคทางใจตลอดจนช่วยให้มีชีวิตยืนยาว เนื่องจากทรงบำเพ็ญพระบารมีโดยอธิฐานความปราศจากโรคภัยของผู้คนในกาลสมัยของพระองค์ เชื่อกันว่าผู้ปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุ สามารถหายจากอาการเจ็บป่วยทางกายและใจ ด้วยการบูชาออพระนาม และสัมผัสรูปพระปฏิมา สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7แห่งกรุงกัมพูชา สร้างพระราชทานเป็นพระปฏิมาประธานในอโรคยาศาล เพื่อผู้ป่วยและประชาชนบูชา เพื่อพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ 


    พระชัยเมืองนครราชสีมา  ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 -20 เดิมพระชัยสร้างขึ้นเป็นมงคลในการศึกสงคราม เพื่อความมีชัยชนะต่ออริราชศัตรู ต่อมาอัญเชิญไปในการพิธีด้วย เรียกว่าพระชัยพิธี เพื่อให้การพิธีสัมฤทธิ์ผล ปราศจากการเบียดเบียนบีฑาจากสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลต่างๆ พระชัยเมืองนครราชสีมา แสดงปางมารวิชัย คือครั้งพระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือพระยารามาธิราช พระองค์เบื้องหน้า เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) พระนลาฏ (หน้าผาก) พระศอ (คอ) พระอังศา (ไหล่) และพระกรทั้งสอง จารึกอักขระขอม ภาษาบาลี อายุอักษรราวพุทธศตวรรษที่ 21 -22 เป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆ เช่น หัวใจพระคาถาพระเจ้าห้าองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) หมายถึง ชัยชำนะโดยยึดถือคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย


     พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิ  ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 22 – 23 สร้างขึ้นตามคติเรื่องชมพูบดีสูตร หรือพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระยาชมพูบดี โดยทรงบันดาลพระเวฬุวันวิหารประดุจเมืองสวรรค์ และเนรมิตพระองค์ทรงเครื่องพระจักรพรรดิราช แสดงบุญญานุภาพเหนือพระยามหากษัตริย์ทั้งปวง เพื่อคลายทิฐิมานะแห่งพระยามหาชมพูกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพและทรงแสดงธรรมจนกระทั้งพระยามหาชมพูสิ้นมานะ ขอบวชเป็นสาวกในพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปทรงเครื่องพระมหาจักรพรรดิจึงหมายถึงอำนาจ และธรรมอันเป็นแก่นสารยิ่งกว่าอำนาจแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหลาย พระพุทธรูปดังกล่าวนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปรูปฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนับถือเป็นหน่อพุทธางกูร


      พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์แดงทั้งคู่  ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามตำนานพระแก่นจันทร์ มีเนื้อความว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทร์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธรูปจากไม้จันทร์หอม พระไม้จันทร์แดงทั้งคู่นี้แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง


      พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก  ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20เป็นพระพุทธรูปมงคล ด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จารึกฐานพระพุทธรูป ระบุว่า พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 เดิมคนร้ายขุดพบในเจดีย์โบราณที่วัดป่าแดงหลวงดอนไชยบุนนาค จังหวัดพะเยา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมได้พร้อมของกลางที่จังหวัดลำปาง ต่อมาหลวงอดุลยธารปรีชาไวท์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร พระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม


       พระพุทธรัตนมหามุนี  พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณี แก้วสีเขียวอ่อนน้ำแตงกวา พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง ทรงเครื่องทองและอัญมณี เดิมพบแตกเป็น 2 ส่วน เจ้าของเดิมได้มาคนละคราว นำมาต่อเป็นเนื้อเดียวกันได้เป็นอัศจรรย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534

โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ 

สมัยทวารวดี
- พระพิมพ์ปางสมาธิ ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-16 กระทรวงมหาดไทยมอบให้
- เศียรพระพุทธรูป ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-13 จากวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม
- พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สำริด ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-16 ขุดพบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
- กวางหมอบ ศิลา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 นายประเสริฐ กล่องสมุทร มอบให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2495 
- ลูกปัด หิน แก้ว ดินเผา และกระดูกสัตว์ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 อู่ทองและดอนระฆัง จังหวัดสุพรรณบุรี

สมัยศรีวิชัย
- พระพุทธรูปปางประทานอภัย สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 15-16 กรมศิลปากรซื้อจากหม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2479
- ห่วงรูปสิงห์นั่ง สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-16 ไม่ปรากฎที่มา
- นางดาราสี่กร ศิลา ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-15 ไม่ปรากฎที่มา

สมัยลพบุรี
ภาชนะสำริด สำหรับใช้ในการประกอบกิจพิธี
1. พานกลีบบัว
2. คนโท
3. หม้อน้ำ
4. กระบวย
5. ซุ้มเรือนแก้ว
6. ยอดซุ้มเรือนแก้ว
7. พานหรือเครื่องตั้งสามขา
8. เชิงเทียน
9. กระดิ่ง ยอดด้ามจับเป็นวัชระ
10. วัชระ
11. กลอง 2 หน้า หรือบันเทาะว์ ยอดวัชระ

สิ่งก่อสร้างและเครื่องประดับ
1. ลูกรอก สำหรับยกสิ่งของ,มีแกนหมุน
2. ลูกกระพรวนและกระดิง
3. ฉาบ
4. กำไล 

โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ในสมัยอื่นๆ 
1. เครื่องทองพุทธบูชา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 24 วัดพระแก้ววังหน้า
2. เครื่องทองจากกรุพระปางค์ วัดราชบูรณะ สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 20
3. พระที่นั่งพุดตานวังหน้า
4. พระที่นั่งราเชนทรยาน
5. เตียงเท้าสิงห์
6. ตุ๊กตาผู้หญิง ดินเผา ศิลปะจีน สมัยราชวงศ์ฮั่น
7. เครื่องถ้วยจีน
8. เครื่องถ้วยลายน้ำทอง พุทธศตวรรษที่ 23-24
9. โถฝาและชามเคลือบสีเขียนนวล ศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง พ.ศ.1503-1722 พบที่เมืองถั่นหัว ประเทศเวียดนาม ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ มอบให้
10. โทน ตัวเป็นเครื่องปั่นดินเผาเคลือบลายเขียนสีลงยา แบบเฝ็นไฉ่ พุทธศตวรรษที่ 24

สิ่งอื่นที่มีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วงมโหรีเครื่องใหญ่
1. ซอสามสาย                                          9. ฆ้องวงเล็ก
2. ซออู้                                                    10. ขลุ่ยเพียงออ
3. ซอด้วง                                                11. ขลุ่ยหลิบ
4. จะเข้                                                   12. ฉาบ
5. ระนาดเอก                                            13. ฉิ่ง
6. ระนาดทุ้ม                                             14. กรับพวง
7. ระนาดทอง                                           15. โทน
8. ฆ้องมโหรี                                             16. รำมานา

หุ่นละครเล็ก
หนังตะลุง
หัวโขน


















วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติ zee ซี มัฑณาวี คีแนน สาวหล่อสุดเท่

" ขี้อายบ้าง ตรงไปบ้าง บ้าบ้า  เป็นคนกล้าเสี่ยง เล่นอะไรที่น่ากลัวๆ  แต่ก็มีอารมณ์อ่อนไหว ... sensitive เหมือนกันนะ "


http://www.youtube.com/
ZEE  ( ซี - มัฑณาวี คีแนน )  สาวเท่สุด  cool  ลูกครึ่งอังกฤษ - อินโดนีเซีย  พร้อมเปิดตัวด้วย Single แรก " ง่ายๆแต่เหงา " เพลง POP Rock เท่ๆ ที่ทุกคนจะได้รู้จักความรักในแบบของ ZEE และบ่งบอกความเป็นตัว ZEE ได้อย่างชัดเจน กับ เนื้อหาที่ตรงไปตรงมา เข้าใจกัน ง่ายๆ แต่ ก็บอกกันชัดๆไปเลยว่า เหงา  ด้วยลุคส์ของวัยรุ่นยุคใหม่อินเทรด์ บวกกับความสามารถในการร้องเพลงและคาแรคเตอร์มั่นๆ ในแบบของ ZEE หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือรู้จัก ZEE จากงานโฆษณา, ถ่ายแบบ มาบ้าง แต่ยังมีอะไรอีกเยอะที่น่าค้นหาในตัว ZEE ... ไม่แน่นะ คุณอาจจะหลงรัก ZEE โดยไม่รู้ตัวก็ได้..... 
  


http://www.youtube.com/
!!!!!!  มาทำความรู้จัก กับสาวเท่คนนี้กันแบบ Excusive เลยดีกว่า !!!!!!

www.konmun.com/Star-Photo-Profile-Boys/zee-id16252.aspx

ชื่อ   มัฑณาวี คีแนน (ซี)   เชื้อชาติ  อังกฤษ - อินโดนีเซีย
27 ต.ค. 31ส่วนสูง / น้ำหนัก 165 cm / 55 Kg
อายุ  21 ปี    วันเกิด  
ผลงานที่ผ่านมา   โฆษณา Eversense โฆษณา    Auntie Anne’s
iLikeถ่ายปกหนังสือ   Tom Act สีที่ชอบ    ขาว – ดำ – เทา – แดงของสะสม    ตุ๊กตา Micky Mouse, รองเท้า
สุนัขสุดหวง   
“ฟีฟี่” พันธุ์ปอมความสามารถพิเศษ    Basketball, ว่ายน้ำ, Wakeboard
เวลาว่างชอบ      เที่ยวทะเล, เล่น Internet
ถ่ายปกหนังสือ 


webboard.yenta4.com
 
http://www.youtube.com/
 ต้องยอมรับว่า...ครั้งแรกที่ได้เจอสาวหล่อสุดเท่ "ซี-มัฑณาวี คีแนน" ที่เดินทางมาที่ "ภาพยนตร์บันเทิง" เพื่อแนะนำซิงเกิลแรก "ง่าย ๆ แต่เหงา" เธอทำให้เรางงเป็นไก่ตาแตก เพราะลุกส์หนุ่มน้อยของเธอ เราถึงกันเคลิบเคลิ้ม และยิ่งมีโอกาสพูดคุยกับเธออย่างเปิดใจ ก็ยิ่งทำให้เราได้รับคำเฉลยว่า...ทำไมสาว ๆ มากมายบนโลกไซเบอร์ถึงได้หลงเสน่ห์ในตัวเธอกันนัก
วีรกรรมแมน ๆ
           ซี มัฑณาวี : เรื่องเตะต่อยอย่างนั้นไม่มีนะ  แต่ถ้าซีดูแลแฟน ซีก็คิดว่า...เราก็น่าจะทำได้เท่า ๆ กับผู้ชาย
ของสะสม
           ซี มัฑณาวี : แว่นกันแดดสี ๆ กับรองเท้า มีประมาณ 10 กว่าชิ้นได้ เห็นแล้วชอบ ก็จะซื้อเก็บไว้
ฉายาสาวเท่
           ซี มัฑณาวี : ไอ้ก๊อง (หัวเราะ) ได้มาจากพี่สาวก่อนเลย เพราะตอนเด็ก ๆ เขาพูดไม่ค่อยชัด ตั้งใจเรียก น้องซี กลายเป็น ก๊องซี ไป เพื่อน ๆ ซีรู้ เขาก็เรียกตาม ก๊อง ๆ
สเปกสาว
           ซี มัฑณาวี : ชอบผู้หญิงตัวเล็ก ๆ น่ารัก ๆ ขาว ๆ ผมยาว ๆ เซ็กซี่ ดูแรง ๆ เป็นตัวของตัวเอง อย่างพี่อั้ม พัชราภา, การ์ตูน อินทิรา จะชอบเป็นพิเศษ
ซี หวานก็เป็นนะ
           ซี มัฑณาวี : ติดหวานมากกว่า (หัวเราะ) ซีจะชอบกินอมยิ้ม จูปาจุ๊บตลอดเวลา
ถูกเรียกว่า...ทอม
           ซี มัฑณาวี : ไมโกรธนะ คงเป็นความรู้สึกชินมั้ง (หัวเราะ) โดนมาหมดแล้วเป็นตุ๊ด เป็นเกย์ สารพัด เราก็เป็นเราอย่างนี้จริง ๆ ทำไมไม่ยอมรับล่ะ (หัวเราะ)
เหมือนผู้ชายมาก ๆ
           ซี มัฑณาวี : ก็เคยมีเกย์มาจีบ เพราะเขาเข้าใจว่า...ซีเป็นเด็กผู้ชาย และที่เจอเป็นประจำคือเวลาเข้าห้องน้ำ โดนผู้หญิงไล่ออกมาจากห้องน้ำหญิงตลอด (หัวเราะ)
เสียใจสุด ๆ
           ซี มัฑณาวี : คงเป็นเมื่อก่อน  ที่ทำให้แม่ร้องไห้เสียใจตลอดเวลา คือ ซีจะเกเร ติดเพื่อน เวลาเพื่อนชวนออกไปข้างนอกก็ออกไปเลย พ่อแม่ไม่ให้ไปก็เคยหนีออกจากบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย แต่พอผ่านช่วงอายุตอนนั้นมาแล้วทำให้ซีเข้าใจและสำนึกผิดในเรื่องนี้ตลอด
รักษาความหล่อ
           ซี มัฑณาวี : เมื่อก่อนไม่ค่อยเท่าไร แต่ตอนนี้จะรู้จักมาส์กหน้า เช็ตผมให้หล่อเป็นแล้ว
บัญญัติกติกา  1 อย่างในสังคม
           ซี มัฑณาวี : อยากให้มีห้องน้ำแยกเพศแล้วกัน แบ่งไปเลย ผู้หญิง-ผู้ชาย-ทอม-กะเทย อยากให้มีมากๆ (หัวเราะ)
นิยมการสัก
           ซี มัฑณาวี : ซีจะชอบการสักมาก ๆ ถ้าไม่เห็นแก่พ่อ-แม่ คงเต็มตัวแล้ว จำได้สักครั้งแรก ตอนอยู่ ม.2 เอาเข็มไปจิ้มสีแล้วสักเอาเอง มีหลายตำแหน่งเหมือนกัน แต่ที่จำไว้ตลอดคงเป็นที่ต้นคอเป็นชื่อแฟนเก่า Due เอาออกไม่ได้ด้วย ก็เป็นการเตือนสติ ทำอะไรอย่าวู่วาม สุดท้าย ก็เลิกกันไม่น่าสักเลย
ปลื้มผู้ชาย (ก็เป็นนะ!!!)
           ซี มัฑณาวี : เขื่อน K-OTIC ซีปลื้มเขาในเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดูเท่ มีสไตล์เป็นตัวของตัวเองดี
ซี อยากสูง
           ซี มัฑณาวี : ตอนนี้สูงแค่ 165 เซนติเมตรเอง ก็อยากสูงกว่านี้อีก รู้สึกว่าเราตัวเล็กเกินไปใครมีเคล็ดลับก็มาบอกต่อกันได้
เจอกัน
           ซี มัฑณาวี : เล่นตลอด www.facebook.com/zeefc  http://zeezez.hi5.com/  http://twitter.com/zeezeez
 ขวัญใจในโลกไซเบอร์
           ซี มัฑณาวี : ก็มีคนพอรู้จักซีก่อนหน้านี้ ประมาณ 3-4 ปี ได้แล้ว เพราะซีจะชอบเล่นอินเทอร์เน็ต ชอบเอารูปไปโพสต์ทิ้งไว้ ก็จะมีเด็กๆ มาเป็นแฟนคลับบ้าง แต่ไม่ได้โด่งดังอะไรขนาดนั้นหรอก
เสน่ห์แรง !!!
           ซี มัฑณาวี : (หัวเราะ) เมื่อก่อนกิ๊กสาวทีละ 4 คนเลยอ่ะ ตอนเด็ก ๆ ชอบไปทั่ว แต่เดี๋ยวนี้ไม่ไหวแล้ว อยากเรียนรู้ดูใจไปทีละคนดีกว่า
สีโปรด
           ซี มัฑณาวี : สีขาว-สีดำ-สีเทา ไม่ค่อยชอบสีสันเท่าไร

webboard.sanook.com

 webboard.sanook.com

http://www.youtube.com/

 webboard.sanook.com

 webboard.sanook.com

webboard.sanook.com


- รวมภาพซี : http://webboard.yenta4.com/topic/323676
- ซี ทอมหล่อ http://webboard.yenta4.com/topic/298265
- ประวัติย่อๆ แนะนำตัวของ Zee http://webboard.yenta4.com/topic/333038
- แฟชั่นหลุดกรอบ แบบ ซี : http://webboard.yenta4.com/topic/386480

 dek-d.com

 webboard.yenta4.com

flash-mini.com

http://www.youtube.com/

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศัพท์เทคนิคที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

ศัพท์เทคนิคที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
         Format clocks              การวางเวลาในการจัดรายการ
         Jingle                           เพลงสั้น เพื่อเป็นตัวบอกช่วงต่าง ๆ เช่น  ช่วงเกมส์ ช่วงกลางวัน
         I.D. Station                   จิงเกิ้ลอย่างเป็นทางการประจำสถานี
         Drop In                        เสียงสั้น ๆ ใช้ในวาระต่าง ๆ
         Dry Voice                     เสียงเปล่า ๆ ไม่มีดนตรี และ ซาวนด์เอฟเฟ็ค
         Fade In                        เสียงค่อย ๆ ดังขึ้น
         Fade Out                     เสียงค่อย ๆ เบาลง
         Fade Under                 ลดเสียงให้เบาลงกว่าเสียงอื่น ๆ เช่น คำพูด หรือ เสียงสัมภาษณ์
         Background Music       เพลงประกอบ เพลงฉากหลัง
         Dead Air                      ไม่มีเสียงออกอากาศ เสียงเงียบ
         On Air                          ออกอากาศ
         Live                             รายการสด
         Vox Pop                       เสียงสัมภาษณ์สั้น ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็น
         Phone In                      การโทรเข้าไปในรายการวิทยุ
         Talk Back                     เสียงโต้ตอบ
         Prime Time                   ช่วงเวลาที่มีผู้ฟังมาก ๆ
         Radio Spot                   โฆษณาในรายการวิทยุ
         Promo Spot                  โฆษณา
         SFX                              เสียงประกอบที่มีตามธรรมชาติ เช่น เสียงปรบมือ เสียงรถวิ่ง
         Special FX                    เสียงประกอบที่ไม่มีตามธรรมชาติ เช่น เสียง Robot
         Commercial Spot         โฆษณาสินค้า
         Feature                        สารคดี
         Single                           เพลง 1 เพลงที่ส่งมาจากค่ายเพลง
         E.P. Extended Play       แผ่นที่วางจำหน่ายทั่วไป มีเพลง 5- 7 เพลง
         Target Audience          กลุ่มผู้ฟัง
         Style                            ลีลาการพูด
         Air Time                       เวลาออกอากาศ
         Programme Director    ผู้อำนวยการผลิต
         Producer                     ผู้ผลิตรายการ
         Creative Team             กลุ่มนักสร้างสรรค์
         Presenter or DJ           ผู้ดำเนินรายการ
         Programme-Co            ผู้ช่วยผู้ดำเนินรายการ
         Announcer                   ผู้ประกาศ
         Technician                   ช่างเทคนิค
         Specialist or Guest Speaker    วิทยากรหรือแขกรับเชิญ
         Radio Studio                ห้องจัดรายการวิทยุ
         Master Control Room   ห้องควบคุมหลัก
         Studio Recording         ห้องบันทึกเสียง
         Editing room                 ห้องตัดต่อ
         Source                         แหล่งเสียงต่างๆ
         Disc Jockey                 การประกาศในรายการเพลง
         Talk Show                    รายการสนทนา
คำต่าง ๆ ของการจัดอันดับเพลงรวมทั้งการรายงานชาร์ต
         New Release, New Comer       เพลงที่เพิ่งมาใหม่
         New Entry                                เข้าอันดับใหม่ สัปดาห์แรก
         Hi Position                                ตำแหน่งสูงสุดในชาร์ต
         Highest entry                           เข้าอันดับสูงสุดประจำสัปดาห์
         Re entry                                   หลุดจากชาร์ตไปแล้ว เข้ามาใหม่
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับประเภทดนตรี หรือหมวดดนตรี
         Acappella (อะคาเปลลา)        แต่เดิม หมายถึง เพลงโบสถ์ขับร้องหมู่สมัยโบราณ ซึ่งไม่ใช้เครื่องดนตรี 
                                                        คลอ ปัจจุบัน หมายถึง เพลงขับร้องหมู่ที่ไม่ใช้เครื่องดนตรี  คลอเช่น 
                                                        เดียวกัน แต่ที่เปลี่ยนไปคือไม่จำกัด  ว่าจะเป็นเพลงโบสถ์หรือไม่ คำนี้มีราก
                                                        ศัพท์  มาจากคำอิตาเลี่ยน มีความหมายว่า chapel (หมายถึง โบสถ์)
         Acoustics                          วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเสียงร้อง ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดเสียง,การ 
                                                        ส่งผ่านของเสียง,การผันแปรของเสียงธรรมชาติ ทางวิทยาศาสตร์ของเสียง
                                                        ดนตรี และอื่นๆที่ เกี่ยวกับเสียงและเสียงดนตรี
         Background                       ดนตรีประกอบภาพยนตร์ รวมไปถึงรายการวิทยุ ,รายการโทรทัศน์ ฯลฯ  
                                                        เพื่อโน้มน้าวใจช่วยให้เรื่องราวสมจริง หรือเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินแก่ผู้
                                                        ชมและผู้ฟัง
         Ballad (แบลลัด)                 คำว่า แบลลัดมาจากภาษาลาติน ballare หมายถึง "เต้นรำ" เดิมคำนี้เป็น 
                                                       เพลงร้องสำหรับเต้นรำเพลงหนึ่งต่อมาได้กลายเป็นเพลงขับร้องเดี่ยว และ
                                                       มักจะเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆ
         Band (แบนด์)                    กลุ่มนักดนตรี
         Bar (บาร์)                         การกำหนดระยะของจังหวะทางดนตรี
         Beat (บีท)                         จังหวะ หรือจังหวะพื้นฐานในใจ จังหวะเคาะหรือนับของห้องแต่ละห้อง  
                                                        เช่น 4/4 ประกอบด้วยสี่จังหวะ หรือการนับได้สี่ครั้งในหนึ่งห้อง 2/4 
                                                       ประกอบด้วยสองจังหวะ หรือ การนับได้สองครั้งในหนึ่งห้อง
         Chorus (คอรัส)                 1. กลุ่มนักร้อง
                                                            2. ดนตรีสำหรับกลุ่มนักร้อง
                                                            3. ส่วนที่ต้องร้องซ้ำในบทเพลง ตามหลังส่วน                                                                     ที่เป็นบทร้องกึ่งเจรจา
         Concert (คอนเสิร์ต)              การแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน
         Duet (ดูเอ็ด)                       บทประพันธ์สำหรับผู้เล่นสองคน
         Improvisation(อิมโพรไว้เซชัน)  การเล่นดนตรีอย่างพลิกแพลงโดยใส่กลเม็ด                                                                              
                                                          เด็ดพรายเอาเอง ไม่ได้เตรียมไว้หรือถูก           
                                                          กำหนดล่วงหน้ามาก่อน
         Lyrics (ไลริกซ์)                    เนื้อร้อง
         Hook (ฮุก)                         ท่อนสร้อย